หน้าแรก

===> เรื่องจริงของมัมมี่ <===

เขียนเชื่อแน่ว่า คำว่า “มัมมี่” คงเป็นที่คุ้นหูหรือเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับท่านผู้อ่านเกือบทุกคน และเป็นศัพท์ที่พูดแล้วก็นึกภาพออกได้ทันทีว่ารูปร่างหน้าตาของมัมมี่เป็นอย่างไร เมื่อนึกถึงมัมมี่ก็มักจะนึกถึงปิรามิด สถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งประวัติศาสตร์ที่ตั้งสูงทมึนอยู่ท่ามกลางทะเลทรายอันเวิ้งว้างคู่ไปด้วย เพราะว่าสิ่งสองสิ่งนี้มันเป็น- “สิ่งมหัศจรรย์” ที่เป็นสมบัติแห่งความลึกลับของชนชาวอิยิปต์โบราณ

        แม้จะมีการศึกษาเรื่องราวของมัมมี่มาเป็นเวลานานแล้ว  แต่จนถึงปัจจุบันนี้การศึกษาความลับของมัมมี่ก็ยังคงกระทำอยู่ เพราะวิทยาการที่สูงขื้น เครื่องไม้เครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพขึ้น ยิ่งทำให้สามารถเจาะลึกเข้าไปสู่ความลับในประวัติศาสตร์นี้ได้มากขึ้น เราสามารถเห็นนักวิทยาศาสตร์ และนักโบราณคดีเป็นจำนวนมากก้มหน้าก้มตาศึกษา -เรื่องราวของมัมมี่อย่างจริงจัง เช่น ที่โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ที่พิพิธภัณฑ์ศูนย์วิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งโบราณคดี ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย หรือว่า ที่สถาบัน -ศิลปศาสตร์แห่งเมืองดิทรอยท์ เป็นต้น การศึกษานอกจากจะใช้วิธีผ่าศพมัมมี่โดยตรงก็ยังมีการนำเอาระบบการถ่ายภาพจากแสงเอกซเรย์ 3 มิติ ที่เรียกว่า “Computerized Axial Tomography (CAT)“ มาใช้ซึ่งนอกจากจะไม่ต้องทำลายมัมมี่ที่ใช้ศึกษาอยู่แล้ว ยังสามารถให้รายละเอียดได้อย่างชัดเจนด้วย

        จากความเชื่อของมนุษย์นับเป็นเวลาหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว เกี่ยวกับเรื่องของร่างกาย และวิญญาณ โดยที่เชื่อว่าการตายก็คือการที่วิญญาณได้หลุดลอยออกจากร่างที่เคยอาศัยอยู่ความเชื่อถือของชาวอียิปต์โบราณ คิดว่าวิญญาณที่ได้หลุดลอยออกจากร่างเมื่อถึงเวลาหนึ่งได้เข้าไปสู่โลกอีกโลกหนึ่งซึ่งอาจจะเรียกว่า “โลกของพระเจ้า” และในวันหนึ่งข้างหน้าวิญญาณนั้นก็จะกลับมา ข้อสำคัญเมื่อวิญญาณกลับมาแล้วก็ต้องอาศัยร่างกายอยู่ และร่างกายที่จะอาศัยอยู่ได้ก็คงจะต้องเป็นร่างกายของตนเองซึ่งครั้งหนึ่งตนได้เคยอาศัยอยู่แล้ว จากความเชื่อถือนี้ การรักษาร่างกายให้คงสภาพไว้เพื่อรอการกลับมาของเจ้าของเดิมจึงเป็นสิ่งที่ชาวอียิปต์โบราณหาวิธีการทีจะทำให้ได้

        ทุกสิ่งมีวิวัฒนาการ มัมมี่ก็เช่นกันในยุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณร่างกายของคนตายได้ถูกห่อไว้ด้วยผ้าหรือเสื่ออย่างลวก ๆ และถูกฝังไว้ในหลุมแคบ ๆ ภายใต้พื้นทรายลึกลงไปไม่กี่ฟุต หลุมที่ฝังก็อาจจะขุดกันอย่างหยาบ ๆ อาจจะมีการก่ออิฐหรือปูด้วย ไม้กระดานบ้าง แต่ก็ไม่มีศิลปะอะไร การฝังศพแบบนี้ชาวอียิปต์ในยุคนั้นก็ได้พบ-ความจริงข้อหนึ่งว่า ภายใต้ความร้อนระอุของพื้นทรายที่ถูกแสงแดดอันแรงกล้าเผาอยู่ตลอดเวลาศพภายในหลุมหยาบ ๆ นั้นมีสภาพเหมือนถูกอบหรือตากแห้ง และมีผลทำให้ศพนั้น ยังคงสภาพอยู่ได้เป็นเวลานาน การที่ศพไม่เน่าเปื่อยและจากความคิดความเชื่อถือที่ว่าวันหนึ่งวิญญาณที่จากไปก็จะกลับคืนมาอีก ญาติพี่น้องก็เลยกลัวว่าถ้าศพฟื้นขึ้นมาเมี่อไรก็อาจจะกลายเป็นคนสิ้นไร้ไม้ตอกไปก็ได้ ก็เลยฝังพวกหม้อข้าวหม้อแกง เพชรพลอยหรือแม้แต่เครื่องใช้เครื่องมือในการทำมาหากินเอาไว้ให้ด้วย

ใส่ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

Comments RSS

ใส่ความเห็น